จับตา 26 มี.ค.รัฐบาลเศรษฐา เปิดตัวเลขเจรจาการค้า-การลงทุน เสริมแกร่งเศรษฐกิจไทย (BOI-ผู้แทนการค้า) BOI เตรียมแถลง ยกระดับด้านอุตสาหกรรมไทย วันที่ 26 มีนาคมนี้

            นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า เรื่องการลงทุนทางทีมงานได้ทำการติดต่อกับบริษัทข้ามชาติหลายบริษัทให้เข้ามาลงทุนในประเทศไทย แต่ต้องชี้แจงว่าการลงทุนเป็นแสนล้านหรือล้านล้านนั้น ใช้เวลามากกว่า 7 เดือนที่ผ่านมาในการตกลง และมั่นใจว่าทางประธานผู้แทนการค้าไทยกับทีมงานของเลขาธิการ BOI (สำนักกรรมการส่งเสริมการลงทุน) เตรียมแถลงรายละเอียดในวันที่26 มี.ค. 67 เวลาประมาณ 11.30 น. ซึ่งจะทำให้ทุกคนได้ทราบถึงความก้าวหน้าของการเดินทางไปต่างประเทศการนำนักลงทุนมายกระดับอุตสาหกรรมไทย จากอุตสาหกรรม Low Profit ให้เป็น High Profit ซึ่งในระยะยาวจะเป็นการยกระดับรายได้ของประชาชนขึ้นมาด้วยเปิดตัวเลขเงินลงทุนจากต่างประเทศ ปี 66 สร้างรายได้เข้าไทย 2.2 ล้านล้านบาทรายงานสถิติการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนปี 2566 มูลค่ารวม 663,239 ล้านบาท โครงการเหล่านี้เกิดเป็นรายได้จากการส่งออกเข้าประเทศไทยสูงถึงปีละประมาณ 2.2 ล้านล้านบาท หรือเกือบ 4 เท่าของมูลค่าที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริม ซึ่งมูลค่าการส่งออกอันดับหนึ่งมาจากอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มูลค่ารวม 883,409 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 40 ของรายได้จากการส่งออกของโครงการต่างชาติที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมทั้งหมด รองลงมา คือ อุตสาหกรรมเกษตร อาหาร และ เทคโนโลยีชีวภาพ มูลค่ารวม 788,019 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 36 ของรายได้จากการส่งออกของโครงการต่างชาติที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมทั้งหมดแผนการลงทุนเชิงรุก ปี 67 ดึงดูดต่างชาติลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย

1. ส่งเสริมการลงทุนเชิงรุกในอุตสาหกรรมเป้าหมาย 5 สาขา ได้แก่ BCG ยานยนต์ไฟฟ้า หรือ EV อิเล็กทรอนิกส์ ดิจิทัล และกิจการสำนักงานภูมิภาค จากกลุ่มนักลงทุนประเทศเป้าหมาย เช่น ญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา และยุโรป เป็นต้น

2. ยกระดับสภาพแวดล้อมในการประกอบธุรกิจ เช่น การส่งเสริมการเจรจา FTA กับประเทศคู่ค้าสำคัญ ผลักดันการใช้พลังงานสะอาด เป็นต้น

3. ดึงดูดบุคลากรทักษะสูงจากต่างประเทศผ่านมาตรการวีซ่าพำนักระยะยาว (Long-term Resident Visa) และการปรับปรุงศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน (One Stop Service)

4. เชื่อมผู้ประกอบการไทยเข้าสู่ห่วงโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมเป้าหมาย เช่น EV และแผ่นวงจรพิมพ์ เป็นต้น

5. สร้างขีดความสามารถในการแข่งขันและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้กับผู้ประกอบการ เพื่อมุ่งสู่อุตสาหกรรมยุคใหม่ เช่น การใช้เครื่องจักรประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานหมุนเวียน และการใช้ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ เป็นต้น

                                  


Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar
ข่าววิ่ง